Macromedia Dreamweaver 8 เป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง ที่มีการออกแบบ มาเพื่อที่จะใช้ในการจัดการกับเอกสารที่ใช้สำหรับ การสร้างเว็บเพจ ซึ่งในสมัยก่อนหากจะมี การสร้างเว็บเพจ ขึ้นแต่ละเว็บเพจนั้น ต้องให้ผู้ที่มีความรู้ในภาษา HTML มาเขียนรหัสคำสั่ง (Code) ให้ แต่ในปัจจุบัน โปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8 สามารถที่จะสร้างรหัสคำสั่งให้กับผู้ใช้โดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านของภาษา HTML เนื่องจากโปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8 นั้นจะมีลักษณะ การทำงานที่คล้ายๆ กับโปรแกรมพิมพ์เอกสารที่เราเคยใช้และรู้จักกันดี ซึ่งจะมีเครื่องมือและแถบคำสั่งให้เราเลือกใช้ได้ เหมือนกับ Word Processor จึงช่วยให้สามารถเว็บเพจด้วยความสะดวก และรวดเร็ว
จุดเด่นของโปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8
1. โปรแกรมจะทำการแปลงรหัสให้เป็นภาษา HTML โดยอัตโนมัติดังนั้น ผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ ด้านนี้ก็สามารถทำได้
2. มีแถบเครื่องมือ หรือแถบคำสั่ง ที่ใช้ในการควบคุมการทำงาน แบ่งออกเป็นหมวดหมู่จึงช่วยในการทำงานที่ดีขึ้น และรวดเร็วยิ่งขึ้น
3. สนับสนุนเว็บเพจที่เป็นภาษาไทยได้ดี
4. มีคุณสมบัติที่สามารถจัดการกับรูปภาพเคลื่อนไหว โดยไม่ต้องอาศัย Plugin
5. สามารถเรียกใช้ตารางจากภายนอก โดยการอิมพอร์ทจาก Text File
6. เป็นโปรแกรมที่สามารถสนับสนุนการใช้งาน CSS (Cadcading Style Sheet)
7. มีความสามารถในการทำ Drop Down Menu รวมไปถึงการทำให้รูปภาพเปลี่ยนเมื่อนำเมาส์ไปชี้ เป็นต้น
การกำหนดค่า เพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจ ภาษาไทย
โปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8 มีการเขียนขึ้นมา เพื่อความสะดวกสบาย ในการสร้างเว็บเพจ เนื่องจากมีวิธีการใช้ที่เหมือนกับ โปรแกรม Microsoft Office มีเมนูต่างๆ ให้ผู้ใช้เลือกใช้จากนั้น โปรแกรมจะทำการแปลงให้เป็น ภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาในการเขียนเว็บเพจ ให้เองโดยอัตโนมัติ
โปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8 นั้นถูกออกแบบมา ให้ใช้ได้กับเว็บเพจทุกภาษา และสามารถที่จะเลือกใช้ฟอนต์ ได้ตามที่มีในระบบปฏิบัติการ ซึ่ง โปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8 จะมีวิธีในการเข้ารหัสที่เป็นตัวอักษรแบบมาตรฐานเท่านั้น คือ (Unicode) ซึ่งจะทำให้มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเหมือนกับเวอร์ชั่นเก่าๆ แต่ในการที่จะใช้กับภาษาอะไร ต้องมีการกำหนดรหัส (Encoding) ให้กับโปรแกรมด้วยเพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นภายหลัง
เนื่องจากภาษาไทยนั้น มีตัวอักษร ที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อนมาก จึงทำให้เกิดปัญหาบางครั้ง จะอ่านภาษาไทยไม่ได้ ดังนั้น ก่อนที่จะ ลงมือในการสร้างเว็บเพจ ด้วยโปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8 นั้นต้องมีการกำหนดรหัส (Encoding) เพื่อให้เว็บเพจนั้นสามารถอ่าน ภาษาไทยได้ ซึ่งมีวิธี ในการที่จะกำหนดเพื่อให้ Macromedia Dreamweaver 8 อ่านภาษาไทยได้ดังนี้
· เลือกคำสั่งที่เมนูบาโดยเลือก Modify จากนั้นเลือก Page Properties (หรือสามารถเลือกได้ที่ปุ่ม Page Properties ที่อยู่บนพาแนล Properties Inspector)
· จากนั้นให้เลือกที่หมวดของ Title/Encoding
· ในช่อง Encoding นั้นให้เลือกที่ Thai (Windows)
สำหรับโปรแกรม Macromedia Dreamweaver เป็น โปรแกรมเขียนเว็บ ที่ออกแบบมาเพื่อ ช่วยจัดการกับ เว็บเพจ โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ ในภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาสำหรับสร้างเว็บเพจ โดยตรง ดังนั้น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver จึงมีฟังก์ชั่นต่างๆ มากมายซึ่งแต่ละ ฟังก์ชั่นก็จะ แสดงผลในลักษณะของ วินโดวส์ (WINDOWS) หรือแถบคำสั่ง (PALETTE) ตัวอย่างของ ฟังก์ชั่น เช่น (BEHAVIOR) เป็น ฟังก์ชั่นสำหรับใช้ในการควบคุม การใช้สคริปต์ต่างๆ เป็นต้น ในการที่จะเลือกใช้ฟังก์ชั่น ผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้วิธีในการควบคุมการทำงาน ของฟังก์ชั่นต่างๆ ให้เข้าใจเสียก่อน และวิธีเรียกใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ของโปรแกรม Macromedia Dreamweaver ก็สามารถทำได้ดังนี้ เลือกคำสั่งที่เมนูบาโดยคลิกเลือกเมนู Window ก็จะปรากฏ รายการของคำสั่งควบคุม หรือฟังก์ชั่นต่างๆ ให้เลือก
สำหรับฟังก์ชั่น ที่เป็นมาตรฐานในการ ทำงานกับโปรแกรม Macromedia Dreamweaver ที่มีการใช้ งานบ่อยๆ ก็มีอยู่ 3 ฟังก์ชั่น ได้แก่
· ฟังก์ชั่น Insert จะเป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับควบคุมเกี่ยวกับวัตถุต่างๆ เช่น เลเยอร์, รูปภาพ ซึ่งแถบเครื่องมือนี้จะประกอบไปด้วย ชุดเครื่องมือต่างๆ คือ Characters , Common, Form, Frames, head, Invisible
· ฟังก์ชั่น Properties เป็นฟังก์ชั่นลักษณะต่างๆ เช่น ใช้ในการกำหนดค่าของข้อความในเว็บ สีของตัวหนังสือ รูปภาพ ตาราง เป็นต้น
· ฟังก์ชั่น Launcher เป็นฟังก์ชั่นสำหรับใช้ในการจัดการหรือควบคุมในส่วนของ สคริปต์ (Behaviors)
เรียนรู้การออกแบบและสร้างเว็บไซต์เบื้องต้นด้วยโปรแกรม Dreamweaver 8
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.hellomyweb.com และ www.school.obec.go.th ค่ะ :D
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.hellomyweb.com และ www.school.obec.go.th ค่ะ :D
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น