- หากทำน้ำหกใส่ Notebook ของคุณ ให้คุณรีบปิดเครื่อง ถอดแบตออก ห้ามเปิดเครื่องโดยเด็ดขาด ! ห้ามใช้ไดเป่าผม หรือ สิ่งเป่าลมใดๆ ที่มีลมร้อน เป่าเครื่อง พยายามถอดชิ้นส่วนที่ถอดได้ของ notebook ออกมาให้หมด ห้ามนำไปตากแดด สามารถใช้ลมเย็นเป่าให้แห้งได้ เมื่อแน่ใจแล้วว่าเครื่องแห้งสนิทจริง ให้ลองใส่แบตแล้วเปิดเครื่อง หากเปิดติด แนะนำให้ save ข้อมูลของคุณโดยเร็วแล้วนำส่งช่าง
- การถอดแบต Notebook ใช้งานเวลาที่เสียบปลั๊กไฟโดยตรง เป็นการยืดอายุแบตเตอรี่ขึ้นมาได้จริง (อาจจะยืดได้นิดนึง) แต่หากช่วงที่ใช้งานนั้นเกิดไฟดับหรือไฟกระชาก เมนบอร์ดของ Notebook จะมีโอกาส เสียสูงมาก เพราะฉะนั้น เราจึงแนะนำให้ยอมให้แบตเสื่อมเร็วขึ้นอีกหน่อย แต่เครื่องใช้ได้ไปอีกนาน
- มีคนเคยแนะนำว่า เวลาเสียบปลั๊ก notebook ให้นำตัวปลั๊กไฟ ไปเสียบกับ ปลั๊กไฟบ้านเสียก่อน จากนั้นค่อยนำเอาหัว Charger มาเสียบที่ตัว Notebook ทั้งนี้เพื่อ ให้ มีการปรับแรงดันไฟ ให้คงที่ก่อนที่จะจ่ายไฟเข้า notebook
- ใช้น้ำยาเช็ดหน้าจอ LCD ที่ ทำมาเพื่อใช้เช็ดจอ LCD เท่านั้น อย่าใช้ น้ำยาที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮฮล์ เช็ด จอ LCD เด็ดขาด !
- การวาง Notebook เล่นบนเตียง หรือบนโซฟา อย่างที่ Notebook หลายๆ ยี่ห้อโฆษนากันอยู่นั้น ไม่เหมาะสมแต่อย่างใดเพราะ จะทำให้ Notebook ระบายความร้อนได้แย่ลง
- กรณีที่ท่านใช้ Notebook ที่มี port usb อยู่ด้านหลัง ให้ระมัดระวังให้มาก เวลายกตัวเครื่อง ตรวจให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรเสียบอยู่กับ post usb (ตัวผมเคยเจอประสบการณ์ตรง เสียบ flashdrive แล้วยก notebook เพื่อเอา Cooler pad ใส่ข้างใต้ ปรากฎว่า flashdrive งัด usb หัก ค่าซ่อม 3000 -4000)
- หากท่านอ่านข้อ 6 ช้าเกินไป usb ของท่านได้หักไปแล้ว เราไม่แนะนำให้ท่านซ่อม แต่ให้ไปหา usb cardbus มาใส่แทนเหมือนผม
- ลงทุนเลือกซื้อกระเป๋า notebook ที่ดีซะหน่อย เอาที่กันน้ำ กันกระแทกได้ดีๆ เพราะ notebook ของคุณซื้อมาราคาไม่ใช่ถูกๆ ลงทุนหน่อยกับแค่กระเป๋าใบเดียว เพื่อรักษา เงินที่คุณเสียไป
- กรณีต้องไปต่างประเทศให้นำ Notebook เก็บให้มิดชิด หรือใส่กระเป๋าแล้วนำการบูนใส่เอาไว้ด้วย ไม่ใช่เพราะกลัวโดนโจรขโมย แต่ มดจะเข้าไปทำรัง แล้วถ้ามันตายบนแผ่นวงจร แล้วเราเปิด notebook ก็จะมีโอกาสพังเพราะวงจรช๊อตได้ (อันนี้ประสบการณ์ตรงไป มาเก๊าไม่กี่วัน กลับมาเปิดคอมที มดออกมาเกือบ 100)
Credit วิธีใช้ การบูร จากคนใน pantip ครับ จำชื่อไม่ได้ต้องขออภัย - บานพับ notebook เป็นส่วนที่มักจะจากไปก่อนเสมอโดยเฉพาะบางยี่ห้อ แนะนำว่าให้ใช้อย่างถนุถนอมมากที่สุด
- การ standby notebook ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนย้ายหากต้องการเคลื่อนย้ายในระยะทางปานกลาง - ไกล แนะนำให้ hibernate หรือ shutdown (เพื่อนผมคนนึง ใช้ notebook ได้โหดมาก คือพอจะต้องเคลื่อนย้าย ก็ standby ปิดฝาดังตึง เอาใส่กระเป๋า notebook ทั้งที่ standby เดินหิ้วไปเลย)
- การ hibernate ช่วยให้คุณเปิดเครื่องเร็วขึ้นจนน่าตกใจ แต่นานๆ ทีก็ shutdown ซะมั่งนะ เพราะถ้าไม่ทำ เครื่องคุณก็จะอืดลงจนน่าตกใจเช่นกัน
- บางครั้งคุณอาจจะตกใจที่ Notebook คุณทำงานไม่เต็ม speed เช่น (ความเร็ว 1.6 ghz แต่มันกลับทำงานที่ 1.0 ghz) ไม่ต้องตกใจเพราะ cpu ใน notebook ส่วนใหญ่จะมีการทำงานที่เรียกว่า speedstep (ของ intel นะ ของ amd จำไม่ได้) ซึ่งจะปรับความเร็วในการทำงานให้เหมาะสมกับงานเพื่อประหยัดพลังงาน (ในรุ่นประหยัดมักไม่มีในส่วนนี้)
- ตอนซื้อ notebook หากเลือกได้แนะนำว่าเลือกที่ช่องระบายอากาศอยู่ทางด้านหลัง หรือด้าน ซ้าย เพราะ หากช่องอยู่ทางด้านขวาแล้วล่ะ ก็ เวลาคุณใช้ mouse เล่น จะรู้สึกได้ถึงความร้อน จนหงุดหงิดเลยทีเดียว (ยกเว้นว่าคุณถนัดซ้าย)
notebook ส่วนใหญ่ที่มาจากจีน ที่ระบายความร้อนจะอยู่ทางขวา อันนี้ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่คิดว่าอาจเพราะ คนจีนถนัดซ้ายกัน - หากต้องการยืดการทำงานของแบต แนะนำให้ลดแสง จอ LCD , ปิด wireless จะใช้งานได้นานขึ้นอีก มากกว่า 15 นาที
- เคยมีคนบอกผมว่า Cooler pad ถ้าจำเป็นต้องใช้นานๆ หรือเปิดไว้ข้ามคืน ให้หา adapter มาแปลง usb ให้ใช้กับไฟบ้าน เพราะการเสียบ cooler pad หาก cooler pad นั้นดีไซน์มาไม่ดี จะทำให้ power supply ของ notebook ทำงานหนักมาก
- การที่จะต้องทำอะไรแล้วใช้เวลานานๆ เช่น Disk Defragment, Disk Cleanup การ Copy file หากแบตเตอรี่เหลือน้อยควรจะเสียบปลั๊กไฟ หรือตั้งค่าการ Turn Off Harddisk ใหม่ให้นานขึ้น เพราะบางครั้งสั่งคำสั่งไว้แล้วแล้วไม่ได้เฝ้า กลับมานึกว่าจะเสร็จที่ไหนได้ มัน Sleep รอแล้ว
Cr: Unknown